ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร

มอก. 655 เล่ม 1-2553

ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร 

ชื่อมาตรฐาน: ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร เล่ม 1:2553 พอลิเอทิลีน พอลิพรอพิลีน พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ และพอลิเมทิลเพนทีน

​มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ ครอบคลุมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกที่สัมผัสอาหาร ทำจากวัสดุเดี่ยว ผสม ชั้นเดียว หรือหลายชั้น สำหรับใช้เตรียม เก็บ หรือบริโภคอาหาร รวมถึงส่วนประกอบของภาชนะ ที่สัมผัสอาหาร เช่น ฝา ช่องแบ่ง หรือฝาในสำหรับริน มีทั้งแบบใช้ครั้งเดียวและแบบใช้ซ้ำได้ โดยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ไม่ครอบคลุม ภาชนะและ/หรือเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร ที่ประกาศกำหนดเป็นมาตรฐานผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไว้แล้ว

​กำหนดคุณลักษณะทั่วไป physical requirements วิธีทดสอบ การตรวจสอบ การติดฉลาก และวิธีการสุ่มตัวอย่าง ของภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร ที่ทำจากพอลิเอทิลีน พอลิพรอพิลีน พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ และพอลิเมทิลเพนทีน

ภาชนะพลาสติก แต่ละประเภทแบ่งตามชนิดของพลาสติกที่ใช้ทำ

(เฉพาะชั้นที่สัมผัสอาหาร) 6 ชนิด  

​- พอลิเอทิลีน (polyethylene) : PE
​- พอลิพรอพิลีน (polypropylene) : PP
​- พอลิสไตรีน (polystyrene) : PS
​- พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต (poly(ethylene terephthalate) : PET
​- พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ (poly(vinyl alcohol) : PVAL
​- พอลิเมทิลเพนทีน (poly(methyl pentene) : PMP

ข้อความในฉลากจะต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
​ที่ภาชนะพลาสติกทุกหน่วย หรือที่วัสดุหุ้มห่อทุกหน่วย หรือที่หีบห่อภาชนะพลาสติกที่มีขนาดเดียวกัน ทุกหีบห่อ อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน แล้วแต่กรณี
1. ชื่อผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานนี้หรือชื่ออื่นที่สื่อความหมายว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานนี้
2. ประเภท
3. ชนิด และ/หรือสัญลักษณ์ชนิดพลาสติก
     - ชนิดพลาสติกทุกชนิดที่สัมผัสอาหาร
     - ชนิดพลาสติกทุกชั้น กรณีมากกว่า 1 ชั้น
4. ขนาด เป็นมิลลิเมตร หรือ เซนติเมตร หรือความจุ (ถ้ามี) 
5. จํานวน
6. อุณหภูมิใช้งาน เป็นองศาเซลเซียส กรณีแบบใช้ซ้ําได้ให้แสดงที่ตัวภาชนะรวมฝา (ถ้ามี) เป็นตัวนูนขึ้นหรือลึกลงในผิวพลาสติก
7. ข้อความ “ใช้ครั้งเดียว” กรณีแบบใช้ได้ครั้งเดียว
8. ข้อความหรือเครื่องหมายแสดงคําเตือน “ห้ามใช้กับเตาไมโครเวฟ”
9. ข้อความหรือเครื่องหมายแสดงคําเตือนที่จําเป็นสําหรับพลาสติกแต่ละชนิด เช่น ห้ามวางใกล้ เปลวไฟ ห้ามบรรจุอาหารร้อนจัดที่เพิ่งปรุงเสร็จใหม่ๆ กรณีเขียงให้ระบุ “ไม่เหมาะสําหรับรองสับด้วยมีดขนาดใหญ่”
10. สัญลักษณ์แสดงว่าสัมผัสอาหารได้อย่างปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 
11. วัน เดือน ปีที่ทํา และรหัสรุ่นที่ทํา
12. ชื่อผู้ทําหรือโรงงานที่ทํา หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศด้วย ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กําหนดไว้ข้างต้น

https://www.tisi.go.th/website/standardlist/list_measures 


ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร
Inthira Mahawong 11 มีนาคม ค.ศ. 2024
แชร์โพสต์นี้
แท็ก
บล็อกของเรา
เก็บถาวร
ลงชื่อเข้าใช้ ที่จะแสดงความคิดเห็น
ISO 22716 : 2007
Cosmetics - Good Manufacturing Practices (GMP) 2/2