การควบคุมและการจัดการสัตว์พาหะนำโรคแบบบูรณาการ

IPM

การควบคุมและการจัดการสัตว์พาหะนำโรคแบบบูรณาการ

​การจัดการสัตว์พาหะแบบบูรณาการ (Integrated Pest Management: IPM) คือ การป้องกัน ควบคุม กำจัด สัตว์พาหะนำเชื้อหรือพาหะนำโรคเป็นปัญหาด้านสุขลักษณะอาหารไม่ว่าจะเป็น แมลงวัน หนู แมลงสาบ นก จิ้งจก สุนัข แมว หรือสัตว์รบกวนอื่นๆ ซึ่งการจัดการนี้อาจไม่ได้กำจัดสัตว์พาหะให้หมดไป แต่เป็นการจัดการให้อยู่ในระดับที่สถานประกอบการสามารถควบคุมและยอมรับได้ ​เนื่องจากมีโอกาสในการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ก่อโรคไปสู่อาหารได้ เช่น โรคซาลโมเนลโลซิล โรคกาฬโรค อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ เป็นต้น

หลักการสำคัญของการจัดการสัตว์พาหะแบบบูรณาการ

​การลดการใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด โดยเน้นไปที่การป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะก่อนที่จะเกิดปัญหา โดยใช้ 5 วิธี ที่โรงงานส่วนใหญ่ทำเพื่อจัดการสัตว์พาหะให้มีประสิทธิภาพ แบบบูรณาการ โดยไม่ต้องอาศัยแค่สารเคมี คือ

1)  การสุขาภิบาลที่ดี สะอาดและถูกสุขลักษณะ มีการตรวจสอบวัสดุที่นำเข้ามาใช้ และการตรวจเฝ้าระวังที่ดีซึ่งสามารถช่วยลดการจำกัดโดยการใช้สารเคมีกำจัดได้เป็นอย่างดี

2) สถานที่ผลิตอาหารต้องสามารถป้องกันสัตว์พาหะเข้ามา ในพื้นที่การผลิตอาหารและเก็บรักษาอาหารเช่น ประตูทางเข้าติดม่านพลาสติก  หน้าต่างหรือช่องระบายอากาศติดมุ้งลวด รางระบายน้ำติดตะแกรง ช่องหรือรูบริเวณผนังอาคารให้อุดให้สนิท เป็นต้น

3)  หลีกเลี่ยงสภาวะจะทำให้มีแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์พาหะบริเวณภายในและภายนอก สถานที่ผลิตอาหารต้องมีความสะอาด ลดการมีเศษสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว และถังขยะควรมีฝาปิด ส่วนอาหารควรเก็บในภาชนะที่มีปิดฝาหรือ เป็นภาชนะที่สามารถป้องกันสัตว์พาหะนำเชื้อได้  และจัดเก็บวางไว้เหนือพื้น (เช่น บนพาเลต หรือชั้นวาง 

4)  ควรตรวจสอบเพื่อหาร่องรอยการเข้าอยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำเชื้อ ในสถานประกอบการและบริเวณโดยรอบอย่างสม่ำเสมอ

5)  เมื่อตรวจพบร่องรอยสัตว์พาพะต้องเร่งดำเนินการกำจัดและหาสาเหตุการเข้ามา เพื่อดำเนินการแก้ไขและป้องกันให้เกิดซ้ำ

 

การควบคุมและการจัดการสัตว์พาหะนำโรคแบบบูรณาการ
Oraya Kaewsee 14 ธันวาคม ค.ศ. 2023
แชร์โพสต์นี้
บล็อกของเรา
เก็บถาวร
ลงชื่อเข้าใช้ ที่จะแสดงความคิดเห็น
Food defense
FSSC 22000