Food Defense
กระบวนการที่ทำให้มั่นใจในการรักษาความปลอดภัยอาหารและเครื่องดื่มจากการโจมตีที่เป็นอันตรายโดยเจตนา รวมถึงการโจมตีด้วยแรงบันดาลใจในอุดมคติที่นำไปสู่การปนเปื้อน การป้องกันการก่อการร้ายทางอาหาร เป็นมาตรการที่มุ่งเน้นไปที่การลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนอาหารโดยเจตนา เช่น การใส่สารพิษ เชื้อโรค หรือสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในอาหาร เพื่อหวังผลในการทำอันตรายต่อผู้บริโภค ชื่อเสียงของบริษัท หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม
แล้วเราจะมีแนวทางการปกป้องผลิตภัณฑ์จากการก่อการร้ายได้ยังไงบ้าง
1. ทำความเข้าใจคน ทั้งคนในและคนนอกองค์กร เพื่อพิจารณาความเสี่ยงที่จะเกิดแนวโน้มการก่อการร้าย/ประสงค์ร้าย (Terrorist)
2. ทำความรู้จักอันตรายต่างๆ (ภายใน+ภายนอก) เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากอันตรายที่จะเกิดจากการประสงค์ร้าย
3. ศึกษาหาแนวทางการลดผลกระทบจากภัยคุกคามจากแหล่งต่างๆ ที่เชื่อถือได้ เช่น BRCGS / IFS / FSSC22000 เป็นต้น และประเมินตนเอง/โรงงาน
4. จัดทำแนวทางการลดผลกระทบจากภัยคุกคามและทำการสื่อสารให้กับผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ
5. ประยุกต์ใช้แนวทาง/มาตรฐานต่างๆ ที่มีแนวทาง/คำแนะนำในการบรรเทาผลกระทบจากภัยคุกคามจากผู้ที่จะก่อการร้ายตามแนวทางนั้นๆ
6. ทวนสอบมาตรการลดผลกระทบและสร้างความรู้ความเข้าใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
การป้องกันการก่อการร้ายทางอาหารยังควรครอบคลุมไปถึงการจัดการความปลอดภัยภายนอกและภายในโรงงานผลิตอาหารด้วย โดยการจัดการความปลอดภัยภายนอกควรเน้นไปที่การป้องกันไม่ให้ผู้ก่อการร้ายสามารถเข้าถึงโรงงานได้ ส่วนการจัดการความปลอดภัยภายในควรเน้นไปที่การป้องกันการเข้าถึงพื้นที่หวงห้ามและการป้องกันไม่ให้ผู้ก่อการร้ายสามารถปนเปื้อนอาหารได้
มาตรการป้องกันการก่อการร้ายทางอาหารที่อาจพบเห็นในโรงงานผลิตอาหารมีดังนี้
- จัดตั้ง Food defense team
- ดำเนินการการประเมินความเสี่ยงต่อภัยคุกคาม ซึ่งมีหลากหลาย Model เช่น PAS 96 TACCP, CARVER Shock, IA Rule (21 CFR Part 121) เป็นต้น เพื่อระบุและประเมินถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ครอบคลุมทุกกระบวนการและผลิตภัณฑ์ขององค์กร
- กำหนดจุดภัยคุกคามที่มีนัยสำคัญต่อการประสงค์ร้ายผ่านอาหาร
- กำหนดและคัดเลือก และนำมาตรการควบคุมไปใช้งานเพื่อลดโอกาสการเกิดหรือผลกระทบจากภัยคุกคามที่มีนัยสำคัญ
- จัดทำเอกสารการประเมินภัยคุกคาม, มาตรการควบคุม, การทวนสอบ, และขั้นตอนปฏิบัติการจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์ประสงค์ร้ายเกิดขึ้น ตามที่ระบุใน Food defense plan
- ดำเนินการฝึกอบรมพนักงานและสื่อสารแนวทางการป้องกันการประสงค์ร้ายผ่านอาหาร และการนำ Good defense plan ไปใช้งาน