การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าวและโรงปรับปรุงสภาพข้าว (มกษ.4403-2564)

TAS 4403-2021

การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าวและโรงปรับปรุงสภาพข้าว (มกษ. 4403-2564)

​การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าวและโรงปรับปรุงสภาพข้าว (มกษ. 4403-2564) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า GMP สำหรับโรงสีข้าว เป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงสีข้าวและโรงงานปรับปรุงสภาพข้าวดำเนินการอย่างถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สาระสำคัญของ มกษ. 4403-2564 ประกอบด้วย 6 ข้อหลัก ได้แก่

​1. สถานที่ตั้งและอาคารการผลิต
​   - อยู่ในพื้นที่ที่ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน เช่น ไม่อยู่ใกล้แหล่งน้ำเสีย แหล่งขยะ หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่อาจปล่อยสารเคมี
​   - มีการแยกพื้นที่รับวัตถุดิบ ผลิต และจัดเก็บผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน
    - มีทางเข้าออกที่เหมาะสม รถสามารถเข้า-ออกได้สะดวก

2. เครื่องจักรและอุปกรณ์
​   - ทำจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่ออาหาร
​   - ต้องสามารถทำความสะอาดได้ง่าย และอยู่ในสภาพดี พร้อมใช้งาน

3. การควบคลุมกระบวนการผลิต
​   - มีขั้นตอนการรับเมล็ดข้าว การแปรรูป และการจัดเก็บที่ปลอดภัย
​   ​- ป้องกันการปนเปื้อนทั้งทางเคมี ชีวภาพ และกายภาพ

4. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
​   ​- มีแผนและบันทึกการทำความสะอาดอาคารและเครื่องมือ
​   ​- ป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะและแมลง

5. สุขลักษณะของบุคลากร
​   ​- มีห้องน้ำ และจุดล้างมือที่สะอาดเพียงพอ
​   - พนักงานต้องมีสุขลักษณะที่ดีและผ่านการอบรม
   - สวมชุดที่สะอาด สวมหมวก และรองเท้าให้เหมาะสม

6. การบันทึกข้อมูลและการตรวจสอบย้อนกลับ  
​   ​- มีการจัดเก็บบันทึกต่าง ๆ เช่น การรับวัตถุดิบ การผลิต และการจัดจำหน่าย
​   ​- สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของข้าวได้

7. อาคารและโครงสร้าง
   - อาคารแข็งแรง ปลอดภัย ป้องกันฝุ่น แมลง และสัตว์พาหะ
   - แบ่งโซนชัดเจน เช่น โซนรับวัตถุดิบ โม่แปรรูป คัดแยก และเก็บรักษา
   - มีการระบายอากาศที่ดี แสงสว่างเพียงพอ และสะอาดเรียบร้อย

8. การควบคุมแมลงและสัตว์พาหะ
   - มีระบบป้องกันและกำจัดแมลง เช่น มุ้งลวดกับพัดลมดันอากาศ (Air Curtain)
   - ไม่มีรอยรั่วหรือช่องโหว่ที่สัตว์สามารถเข้ามาได้

ประโยชน์ที่สำคัญของการทำ มกษ. 4403-2564

1. เพิ่มความปลอดภัยของข้าว
  - ควบคุมกระบวนการผลิตให้ถูกสุขลักษณะ ลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อน 
    (สารเคมี สารพิษตกค้าง เชื้อรา ฯลฯ)
  - สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร

2. ยกระดับคุณภาพข้าว
   - ช่วยให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ สีสวย ความชื้นเหมาะสม ไม่มีสิ่งเจือปน
   - ทำให้สามารถตั้งราคาสูงขึ้น และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

3. เพิ่มความน่าเชื่อถือของกิจการ
   - ได้รับการยอมรับจากคู่ค้า โรงงานแปรรูป หรือผู้ส่งออก
   - ส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรว่าใส่ใจในมาตรฐานและความปลอดภัย

4. สนับสนุนการส่งออก
   - เป็นพื้นฐานในการยกระดับไปสู่มาตรฐานสากล เช่น ISO 22000, HACCP หรือ 
     GMP ระดับสาก
   - ผู้ซื้อจากต่างประเทศมักกำหนดให้โรงสีมีระบบควบคุมคุณภาพที่ตรวจสอบได้

5. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
   - กระบวนการต่าง ๆ เป็นระบบ ชัดเจน ตรวจสอบได้ง่าย
   - ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต เช่น การสูญเสียเมล็ดข้าวหรือเสียเวลาจาก
     เครื่องจักรชำรุด

6. ควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้น
   - การจัดการที่เป็นระบบช่วยลดต้นทุนซ่อนเร้น เช่น ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักร 
     หรือของเสียจากการผลิต
   - ทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

7. เป็นพื้นฐานสู่มาตรฐานอื่น
   มกษ. 4403-2564 เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเข้าสู่มาตรฐานที่สูงกว่า เช่น BRC, ISO, HACCP ฯลฯ


สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่:
https://drive.google.com/file/d/1c-8Qs6-Mb-3AT2PulTaVetWSl360mYzG/view



การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าวและโรงปรับปรุงสภาพข้าว (มกษ.4403-2564)
Oraya Kaewsee 29 เมษายน ค.ศ. 2025
แชร์โพสต์นี้
บล็อกของเรา
เก็บถาวร
ลงชื่อเข้าใช้ ที่จะแสดงความคิดเห็น
การปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำผึ้ง
มกษ. 8207-2567