การนำเข้าทุเรียนแช่เยือกแข็งของจีน
เงื่อนไขการนำเข้าทุเรียนแช่เยือกแข็ง
- จัดเป็นสินค้าประเภท Frozen fruit
- ภายใต้พิกัดศุลกากรของจีน 08119090XX CIQ XXX
- จีนมีการจัดพิธีสาร ก่อนการปรับกฎระเบียบ กับประเทศคู่ค้าเพื่อระบุเงื่อนไขการนำเข้าทุเรียนแช่เยือกแข็ง เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม

อดีตการนำเข้าที่จีน
การนำเข้าผลไม้ทุเรียนแช่เยือกแข็ง (รวมถึงทุเรียน) จากต่างประเทศเข้าไปจีน ต้องมีการเปิดตลาดและมีเงื่อนไขการนำเข้าเป็นการเฉพาะ จีนมีการจัดพิธีสารฯ สำหรับทุเรียนแช่เยือกแข็ง หรือมีการกำหนดรายชื่อประเทศที่ได้รับอนุญาตการนำเข้าทุเรียนแช่เยือกแข็งเฉพาะไทยและมาเลเซีย

ปัจจุบันการนำเข้าประเทศจีน
เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา จีนมีการเปลี่ยนแปลงระเบียบ/เงื่อนไขสำหรับผลไม้แช่เยือกแข็ง จะไม่ดำเนินการควบคุมกำกับตรวจสอบกักกันเพื่อเข้าสู่ตลาด (Quarantine Access Management) อีก
ต่อไป GACC ได้ถอดถอนบัญชีรายชื่อประเทศ/ภูมิภาคที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าผลไม้แช่แข็งออกจากเว็บไซต์
ของกรมความปลอดภัยอาหารฯ ด้วย ตอนนี้ผลไม้แช่เยือกแข็ง รวมถึงทุเรียนแช่เยือกแข็ง จากประเทศใดๆ ก็ตามสามารถส่งออกไปจีนได้แล้ว
การส่งออกทุเรียนแช่เยือกแข็งไปยังจีน ยังคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ผลิต ต้องมีการขึ้นทะเบียนกับสำ นักงานศุลกากรจีน ผ่านระบบ CIFER
- ต้องมีการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานกำ กับดูแลของประเทศส่งออก และปฏิบัติตามกฎระเบียบเงื่อนไขของทั้งสองประเทศ
- หน่วยงานตรวจสอบและกำกับดูแลด้านความปลอดภัย ปัจจุบันมีสถานประกอบการไทยขึ้นทะเบียนในระบบสำหรับกลุ่มผลไม้แช่เยือกแข็งแล้ว 137 ราย
- ปัจจุบัน ยังเป็น self-registration เมื่อลงทะเบียนผ่านการพิจารณาแล้วต้องแสดงหมายเลขขึ้นทะเบียน ลงบน inner/outer packaging
ปัญหาที่พบในปัจจุบัน
ตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม 2567 ที่ ที่ผ่านมา GACC มีการแจ้งตรวจพบเชื้อก่อโรคในทุเรียนแช่เยือกแข็งจากไทยไปยังจีน โรงงานที่ผลิตหากถูกตรวจพบจะถูกประเมินสถานประกอบการ และถูกระงับการส่งออกชั่วคราวได้ (หรืออาจถอดถอนชื่อ) ซึ่งการจะสามารถกลับมาส่งออกได้ ต้องผ่านการตรวจประเมินอย่างเข้มข้น และจีนจะต้องตรวจประเมินโรงงานอีกครั้ง จึงจะพิจารณาว่าสามารถกลับมาส่งออกได้หรือไม่ ตั้งแต่ง วันที่ 23 เดือน กันยายน 2567 ขอให้แนบ test report ประกอบการส่งออกสำหรับ 4 เชื้อ
ข้อควรระวัง
เพิ่มความระมัดระวัง และรักษาคุณภาพมาตรฐานในการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง personal hygiene และการรับวัตถุดิบ การป้องกันการปนเปื้อนข้าม (cross-contamination) ปฎิบัติตามมาตรฐานและข้อบังคับตาม มกษ. 9046-2560 และระเบียบด้านความปลอดภัยอาหารที่เกี่ยวข้อง