ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 386

GMP 386

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 386 พ.ศ. 2560 เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิด และการแสดงฉลาก 
หรือเรียกสั้นๆว่า GMP 386

GMP 386 (หรือ GMP ผักหรือผลไม้สดบางชนิด) ประกอบด้วยข้อกำหนด 6 ข้อดังนี้

​1) สถานที่ตั้ง อาคารผลิต บริเวณผลิต
​2) เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
​3) การควบคุมกระบวนการผลิต
​4) การสุขาภิบาล
​5) การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
​6) บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน

GMP 386 ผักหรือผลไม้สดบางชนิดที่ประกาศกำหนดให้บังคับใช้ ได้แก่

ผลไม้สด ได้แก่ กล้วย เกาลัด แก้วมังกร แตงเทศ เงาะ ชมพู่ แตงโม ทับทิม ฝรั่ง พุทรา มะม่วง มะละกอ ละมุด ลำไย สตรอว์เบอร์รี สาลี่ องุ่น แอปเปิล ส้มเปลือกล่อน และส้มเปลือกไม่ล่อน

ผักสด ได้แก่ กระเทียม กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กุยช่าย ข่า คะน้า แครอท ต้นหอม ถั่วงอก ใบตำลึง แตงกวา แตงร้าน ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา บร็อกโคลี กระเพรา โหระพา ใบแมงลัก ใบบัวบก ผักปวยเล้ง ผักกาดขาวปลี ผักโขม ผักบุ้ง พริกเผ็ด พริกหวาน ฟักทอง มะเขือเทศ มะเขือเปราะ หอมแดง เห็ดที่เพาะเลี้ยง

 บังคับใช้กับ
​1. การคัดและบรรจุที่มีการรับวัตถุดิบจากผู้อื่น หรือ
​2. การคัดและบรรจุที่ไม่ได้มีการรับวัตถุดิบจากผู้อื่นแต่มีอาคารหรือโรงเรือนสำหรับคัดและบรรจุ
​3. การนำเข้าเพื่อจำหน่าย

ไม่บังคับใช้กับ
​1. ผักหรือผลไม้สดบางชนิด ที่ผู้ผลิตเป็นผู้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค
​2. ผักหรือผลไม้สดบางชนิด ที่จำหน่ายเป็นอาหารพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปที่พร้อม บริโภคทันที

 GMP (Good Manufacturing Practice) เป็น “หลักเกณฑ์หรือวิธีการผลิตที่ดี” เป็นการจัดการสภาพแวดล้อมของการผลิตให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยต่อการบริโภค เช่น การทำความสะอาด การควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล เป็นต้น ซึ่งทางอย ก็ใช้เรียกชื่อหลักเกณฑ์ในการควบคุมสถานที่ผลิตอาหารนี้ว่า GMP

สามารถดูรายละเอียดได้ที่
https://food.fda.moph.go.th/media.php?id=509400357386985472&name=P386.PDF

 

 

 

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 386
Oraya Kaewsee November 21, 2023
Share this post
Our blogs
Archive
Sign in to leave a comment
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 420
GMP 420