มกษ.6401(G)-2560 และ มกษ.6401-2558

มีความแตกต่างกันอย่างไร

มกษ.6401(G)-2560 และ มกษ.6401-2558 มีความแตกต่างกันอย่างไร

1. สถานะของมาตรฐาน:

  •   มกษ.6401(G)-2560 เป็นแนวปฏิบัติ (Guidance)
  •   มกษ.6401-2558 เป็นมาตรฐานบังคับ

2. ขอบข่ายการใช้งาน:

1. มกษ.6401(G)-2560 แนวทางนี้อธิบายการนำมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ.6401-2558 เป็นมาตรฐานบังคับ เรื่อง การปฎิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ มกษ.6401-2558 ไปใช้

2. การตรวจประเมิน การออกใบรับรอง และการให้เครื่องหมายรับรอง ให้เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฎิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ มกษ.6401-2558

สรุปเลยว่า

  • มกษ.6401(G)-2560  ใช้เป็นแนวทางสำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบที่ต้องการพัฒนาระบบการผลิตให้ได้น้ำนมดิบที่มีคุณภาพและปลอดภัย
  • มกษ.6401-2558 เป็นข้อกำหนดที่ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบต้องปฏิบัติตาม

3. รายละเอียดข้อกำหนด:

  •  มกษ.6401(G)-2560 มีการอธิบายวิธีการปฏิบัติที่ละเอียดกว่า พร้อมให้ตัวอย่างและคำแนะนำในการปฏิบัติ
  •  มกษ.6401-2558 ระบุเฉพาะข้อกำหนดหลักที่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม

ตัวอย่าง

1. มกษ.6401-2558 การตรวจสอบคุณภาพน้ำนม ข้อกำหนด 2.13 มีแผนการตรวจสอบ/วิเคราะห์คุณภาพน้ำนมดิบและปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้

มกษ.6401(G)-2560 ช่วยอธิบายขยายข้อความในข้อกำหนด ข้อกำหนด 2.13  ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบควรกำหนดแผนการตรวจคุณภาพน้ำนมในขั้นตอนสำคัญเช่น การเก็บรักษาน้ำนมดิบก่อนการขนส่ง และปฏิบัติตามแผนดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพน้ำนมดิบเป็นไปตามข้อกำหนดก่อนการขนส่งสู่โรงงานแปรรูป

2. มกษ.6401-2558 การจัดการการระบบขนส่งน้ำนมดิบ ข้อกำหนด 5.2 ให้เตรียมการในการขนส่งน้ำนมดิบอย่างเหมาะสมและถูกสุขลักษณะพร้อมบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

มกษ.6401(G)-2560 ช่วยอธิบายขยายข้อความในข้อกำหนด ข้อกำหนด 5.2 ให้เตรียมการในการขนส่งน้ำนมดิบอย่างเหมาะสมและถูกสุขลักษณะ เช่น รถขนส่งให้ใช้ขนส่งเฉพาะน้ำนมดิบเท่านั้น , ถังบรรจุน้ำนมดิบสำหรับการขนส่งต้องได้รับการดูแลรักษาความสะอาด บำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมก่อนและหลังการขนส่งทุกครั้ง ให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อตามความเหมาะสมที่สามารถมั่นใจว่ามรความสะอาดเพียงพอ, ควรมีการวางแผนการขนส่งเพื่อให้ส่งน้ำนมดิบถึงโรงงานแปรรูปได้ตามกำหนดเวลา และยังคงรักษาอุณหภูมิได้ไม่เกิน 8 องศา และมีมาตราการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนของอันตรายโดยเฉพาะขั้นตอนการขนถ่ายน้ำนมดิบจากถังเก็บสู่ถังบรรจุสำหรับการขนส่งอย่างถูกสุขลักษณะและการปิดผนึกฝาถังบรรจุและวาล์วท่อนมอย่างถูกต้อง, มีแผนการตรวจสอบรอยรั่วของส่วนที่ใช้บรรทุกเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอและซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเหมาะสมก่อนใช้งาน, ให้บันทึกข้อมูลที่จำเป็นอย่างเพียงพอที่จะทำให้ผู้รับช่วงต่อไปอย่างถูกต้องเหมาะสม เช่น ปริมาณน้ำนมดิบที่ขนส่งแต่ละครั้ง รุ่นการผลิต วันที่ขนส่ง อุณหภูมิน้ำนมดิบก่อนการขนส่ง

4. การนำไปใช้:

  • มกษ.6401(G)-2560 เป็นเครื่องมือช่วยในการพัฒนาระบบการผลิต สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม
  • มกษ.6401-2558 เป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐาน

 

 

มกษ.6401(G)-2560 และ มกษ.6401-2558
Inthira Mahawong February 3, 2025
Share this post
Our blogs
Archive
Sign in to leave a comment