FDA ปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านโภชนาการอาหารใหม่
สำหรับการใช้คำกล่าวอ้างบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร
เมื่อวันที่
19 ธันวาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านโภชนาการสำหรับอาหาร
เพื่อการใช้คำกล่าวอ้างบนฉลากผลิตภัณฑ์
โดยอาหารจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดจึงจะสามารถใช้ข้อความอ้างสิทธิ์ได้ว่ามีสารอาหารที่
"ดีต่อสุขภาพ” บนฉลากอาหาร มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย 25 กุมภาพันธ์ 2568
โดยจะมีระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 3 ปี
เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ผลิตภัณฑ์อาหารต้องมีส่วนประกอบ ดังนี้
• ต้องประกอบด้วยอาหารจากกลุ่มอาหารหรือกลุ่มย่อยอย่างน้อยหนึ่งกลุ่ม เช่น
ผัก ผลไม้ ธัญพืช ผลิตภัณฑ์นม และโปรตีนไขมันต่ำ
ตามคำแนะนำของแนวทางโภชนาการสำหรับชาวอเมริกัน
• ต้องเป็นไปตามขีดจำกัดเฉพาะ
สำหรับการเติมน้ำตาล ไขมันอิ่มตัว และโซเดียม
โดยอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการซึ่งได้รับการสนับสนุนให้มีการบริโภคตามหลักเกณฑ์ด้านโภชนาการ (Dietary Guidelines) ได้แก่ ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด (whole grain) ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำและปราศจากไขมัน เนื้อสัตว์ป่าไม่ติดมัน (lean game meat) อาหารทะเล ไข่ ถั่วฝักที่กินได้ทั้งฝักหรือกินเฉพาะเมล็ด (beans) ถั่วฝักเมล็ดกลม (pea) ถั่วเมล็ดแบน (lentils) ถั่วเปลือกแข็ง (nut) และเมล็ดพืช (seeds) อาหารเหล่านี้สามารถใช้คำกล่าวอ้าง “ดีต่อสุขภาพ” ได้ ในกรณีที่ไม่มีการเติมวัตถุอิบอื่นๆ เพิ่มเติมนอกจากน้ำ
นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกจัดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ใช้คำกล่าวอ้าง “ดีต่อสุขภาพ” ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ ได้แก่ อะโวคาโด ถั่วและเมล็ดพืช ปลาแซลมอน น้ำมันมะกอก รวมถึงผัก ผลไม้ ปลาสดและแช่แข็ง รวมทั้งแบบบรรจุกระป๋อง ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในเกณฑ์ “ดีต่อสุขภาพ” ภายใต้คำกล่าวอ้างเดิม แต่ไม่อยู่ภายใต้คำกล่าวอ้างที่ปรับปรุงใหม่ ได้แก่ ขนมปังขาว โยเกิร์ตที่มีรสหวานสูง และซีเรียลที่มีน้ำตาลสูง
การออกกฎเกณฑ์ดังกล่าว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานครั้งสำคัญครั้งแรก หลังมีการประกาศใช้เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์โภชนาการ และสามารถช่วยให้ผู้บริโภคเลือกอาหารเพื่อสุขภาพได้มากขึ้น
ทั้งนี้
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://www.fda.gov/food/nutrition-food-labeling-and-critical-foods/use-term-healthy-food-labeling
Start writing here...