เกษตรอินทรีย์: การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์

(มกษ. 9000-2564)

เกษตรอินทรีย์ : การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (มกษ. 9000-2564)

มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้เป็นมาตรฐานกลางที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เพื่อใช้ควบคุมและส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย ให้เป็นไปตามหลักการสากล ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงการจำหน่ายกำหนดวัตถุประสงค์หลักการ การผลิต การแปรรูป การแสดง ฉลาก การขนส่ง และการจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ใช้เป็นอาหาร อาหารสัตว์ ซึ่งได้จาก : 1) การผลิตพืชซึ่งรวมถึง การเพาะปลูกพืช การเพาะเห็ด การเก็บเกี่ยวผลิตผลจากธรรมชาติ การผลิตเมลดพันธุ์และส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ 2) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสาหร่าย 3) การเลี้ยงปศุสัตว์ 4) การเลี้ยงผึ้งและแมลงที่บริโภคได้  ​

​เกษตรอินทรีย์ (organic agriculture) หมายถึง ระบบการจัดการการผลิตด้านการเกษตรแบบองค์รวม ที่ช่วยทำให้ระบบนิเวศเกษตรมีความสมบูรณ์ทั้งนี้รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ วงจรชีวภาพ และกิจกรรมทางชีวภาพในดิน เกษตรอินทรีย์เน้นการใช้วิธีการจัดการภายในฟาร์มมากกว่าการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์ม โดยคำนึงถึงสภาพของภูมิภาคต่างๆ ที่ต้องมีการปรับระบบให้เข้ากับสภาพท้องถิ่น ทั้งนี้เมื่อเป็นไปได้จะทำให้สำเร็จได้โดยใช้วิธีธีทั่วไป วิธีทางชีวภาพและทางกล แทนการใช้วัสดุสังเคราะห์ ระบบการเกษตรที่เน้นการใช้ธรรมชาติในการผลิต โดย หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง หรือสารควบคุมการเจริญเติบโต และหันมาใช้วิธีธรรมชาติ เช่น ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การปลูกพืชหมุนเวียน และการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี

จุดประสงค์ของมาตรฐาน

-  เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในความปลอดภัยและคุณภาพของผลิตภัณฑ์อินทรีย์
-  เพื่อส่งเสริมระบบเกษตรยั่งยืน
-  เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ผลิต และเป็นเกณฑ์ในการตรวจรับรองโดยหน่วยรับรอง (Certification Body)

สาระสำคัญของมาตรฐาน มกษ. 9000-2564

1. การผลิต (Production)
  - ใช้วิธีการผลิตตามหลักเกษตรอินทรีย์ ห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี และจีเอ็มโอ
  - เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ และระบบนิเวศแบบยั่งยืน
  - ต้องมีการจัดทำแผนการผลิตอินทรีย์ (Organic Plan)
  - มีการบันทึกข้อมูลการเพาะปลูก การใช้ปัจจัยการผลิต และการดูแลรักษา

2. การแปรรูป (Processing)
  - วัตถุดิบที่ใช้ต้องมาจากแหล่งผลิตอินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง
  - ห้ามใช้วัตถุเจือปนอาหารสังเคราะห์ ยกเว้นที่อนุญาตไว้ในบัญชีแนบท้ายมาตรฐาน
  - ต้องป้องกันการปนเปื้อนจากสารต้องห้าม และแยกจากผลิตภัณฑ์ทั่วไป

3. การแสดงฉลาก (Labeling)
  - ต้องแสดงข้อความว่า "อินทรีย์" หรือ “เกษตรอินทรีย์” อย่างถูกต้อง
  - ต้องระบุชื่อหน่วยงานรับรอง (เช่น กรมวิชาการเกษตร, 
    องค์กรเอกชนที่ได้รับการรับรองจาก มกอช.)
  - ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ 95% ขึ้นไป จึงสามารถใช้คำว่า “ผลิตภัณฑ์อินทรีย์” ได้อย่างเต็มที่
  - ต้องแสดงเลขรับรองมาตรฐาน (Certification Number) ชัดเจน

4. การจำหน่าย (Marketing)
  - ต้องรักษาความปลอดภัย ความสะอาด และป้องกันการปนเปื้อน
  - สินค้าต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceability)
  - ห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่หมดอายุการรับรอง หรือถูกปนเปื้อน

การแปรรูปอาหารอินทรีย์ (Organic Food Processing) เป็นกระบวนการที่เน้นการรักษาความเป็นธรรมชาติของวัตถุดิบ และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม 

photo of three clear glass mason jars 

หลักการสำคัญของ การแปรรูปอาหารอินทรีย์
1. วัตถุดิบอินทรีย์
   - วัตถุดิบต้องมาจากแหล่งผลิตอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองแล้ว
   - ต้องมีหลักฐานการรับรอง เช่น ใบรับรองเกษตรอินทรีย์จากหน่วยรับรองที่เชื่อถือได้
   - อนุญาตให้ใช้วัตถุดิบที่ไม่ใช่อินทรีย์ได้ในสัดส่วนที่กำหนด (ไม่เกิน 5%) กรณีไม่มีทางเลือกอื่น และต้องอยู่ในรายการที่อนุญาต

2. ข้อห้ามในการแปรรูป
   - ห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น วัตถุกันเสีย สารแต่งสี สารแต่งกลิ่นเทียม
   - ห้ามใช้วัตถุดิบหรือส่วนผสมที่ดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs)
   - ห้ามใช้รังสี หรือวิธีการที่ทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารโดยไม่จำเป็น

3. กระบวนการผลิต
   - ต้องใช้กระบวนการที่คงไว้ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการ และลดการสูญเสีย
   - อนุญาตให้ใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น การอบแห้ง การต้ม การหมัก การบด การแช่แข็ง เป็นต้น 
   - ต้องแยกสายการผลิตอินทรีย์ออกจากผลิตภัณฑ์ทั่วไป เพื่อป้องกันการปนเปื้อน

4. การใช้วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additives)
   - อนุญาตให้ใช้เฉพาะวัตถุเจือปนที่อยู่ใน “บัญชีแนบท้าย” ของมาตรฐาน 
     (เช่น กรดซิตริกจากธรรมชาติ, เอนไซม์จากจุลินทรีย์ที่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม)
   - ต้องมีเหตุผลจำเป็นในการใช้ และไม่ส่งผลเสียต่อความเป็นอินทรีย์

5. การจัดการด้านสุขอนามัย (Hygiene and Sanitation)
   - ใช้ระบบ GMP หรือ HACCP เพื่อควบคุมความปลอดภัย
   - อนุญาตให้ใช้สารทำความสะอาดที่อยู่ในรายการที่อนุญาตเท่านั้น

6. การบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
   - ใช้วัสดุที่ไม่เป็นพิษ ไม่ปนเปื้อน และไม่ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์
   - ห้ามใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีสารก่อมลพิษ เช่น PVC หรือโลหะหนัก

7. การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)
   - ต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต
   - ต้องจัดทำบันทึกการรับวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ และการจัดจำหน่ายอย่างครบถ้วน


อ้างอิงและสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ :
https://elearning.acfs.go.th/ebook/658ba018bdc24
https://www.acfs.go.th/standard/detail/494
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=4843583065672663&id=717276878303323




เกษตรอินทรีย์: การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลาก และการจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์
Oraya Kaewsee May 19, 2025
Share this post
Our blogs
Archive
Sign in to leave a comment
การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงสีข้าวและโรงปรับปรุงสภาพข้าว (มกษ.4403-2564)
TAS 4403-2021